เมนู

วรรณนานิทเทสแห่งปุเรชาตปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน ปุเรชาตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
ชื่อว่า ปุเรชาตะ ในคำว่า ปุเรชาตปจฺจโย นี้ เป็นปัจจัยแก่
ธรรมใด ต้องเกิดก่อนกว่าธรรมนั้น คือล่วงเลยอุปาทขณะไปถึงฐิติ-
ขณะแล้ว.

คำว่า จกฺขฺวายตนํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจ
วัตถุปุเรชาตปัจจัย. คำว่า รูปายตนํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ด้วยอำนาจอารัมมณปุเรชาตปัจจัย. คำว่า กิญฺจิ กาลํ ปุเรชาตปจฺจเยน
(บางคราวเป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย) พระองค์ตรัสหมายถึง
ปวัตติกาล. คำว่า กิญฺจิ กาลํ น ปุเรชาตปจฺจเยน (บางคราวก็ไม่เป็น
ปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย) ตรัสหมายเอาปฏิสนธิกาล. บาลีนี้มา
แล้วด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์ในปัญจทวารทั้งหมด ไม่ได้มาด้วยอำนาจ
วัตถุในมโนทวาร. แต่ในปัญหาวาระ ได้อารัมมณปุเรชาตปัจจัยแม้ใน
มโนทวารด้วย เพราะบาลีมาแล้วว่า พระเสกขะหรือปุถุชน ย่อมเห็น
แจ้งซึ่งจักษุอันเป็นอารมณ์ที่เกิดก่อน โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา. ส่วนในที่นี้ ทรงแสดงเทศนาด้วยอำนาจธรรมที่มีส่วนเหลือ.
พรรณนาบาลีในปุเรชาตปัจจัยนิทเทสเพียงเท่านี้.
ก็ปุเรชาตปัจจัยนี้ มีแต่รูปล้วน ๆ. ก็แลรูปนั้น ได้แก่รูปรูป1 18
เท่านั้น
(รูปที่แตกสลายเพราะปัจจัยที่เป็นข้าศึก มีเย็น ร้อน เป็นต้น )
ที่เลยอุปาทขณะแล้วถึงฐิติขณะ. รูปทั้งหมดมี 2 อย่าง คือเป็นวัตถุ-
1. รูปรูป หมายถึง นิปผันนรูป 18.

ปุเรชาตปัจจัย และอารัมมณปุเรชาตปัจจัย. ในสองอย่างนั้น รูปนี้คือ
จักขายตนะ ฯ ล ฯ กายายตนะ วัตถุรูป ชื่อว่า วัตถุปุเรชาตะ รูปที่
เหลือ 12 ทั้งที่มาและไม่ได้มาในบาลี คือ สี เสียง กลิ่น รส ธาตุ 4
อินทรีย์ 3 (คือ ภาวรูป 2 ชิวิตรูป 1) กพฬีการาหาร 1 ชื่อว่า
อารัมมณปุเรชาตะ. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการ
ต่าง ๆ ในปุเรชาตปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้ว
ก็ในปุเรชาตปัจจัยซึ่งจำแนกได้ดังที่ข้าพเจ้าแสดงมาแล้วนี้ จักขา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณจิต 2 ดวง ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
อายตนะ 4 นอกจากนี้ก็เหมือนกัน คือเป็นปุเรชาตปัจจัยแก่โสตวิญญาณจิต
2 ดวง เป็นต้น. วัตถุรูปเป็นปุเรชาตปัจจัยแก่จิตและเจตสิก ทั้งที่เป็น
กุศล อกุศล และอัพยากตะ อันเป็นไปในภูมิ 4 ทั้งหมดที่เหลือ เว้น
ทวิปัญจวิญญาณจิต และอรูปวิบาก 4 ก็อารมณ์ 5 มีรูปเป็นต้น เป็น
ปุเรชาตปัจจัยโดยส่วนเดียว แก่ทวิปัญจวิญญาณจิตด้วย และแก่มโนธาตุ
3 ด้วย. ก็รูปรูปทั้ง 18 อย่างนั้น เป็นปุเรชาตปัจจัยแก่ธรรม 6 หมวด
เหล่านี้ คือ กามาวจรกุศล อภิญญากุศลที่เกิดจากรูปาวจร อกุศล กามา-
วจรวิบากที่เกิดขึ้นโดยเป็นตทารัมมณะ กามาวจรกิริยา และอภิญญากิริยา
ที่เกิดจากรูปาวจร. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน
ในปุเรชาตปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.
วรรณนานิทเทสแห่งปุเรชาตปัจจัย จบ

[12]

ปัจฉาชาตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิด
ภายหลัง กล่าวคือ
จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งปัจฉาชาตปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน ปัจฉาชาตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
บทว่า ปจฺฉาชาตา ความว่า ธรรมที่เกิดภายหลังจะเป็นปัจจัยแก่
กายใด จะต้องเกิดขึ้น ในเมื่อกายนั้นเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่. บทว่า ปุเรชา-
ตสฺส
คือ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดก่อนกว่า อุปาทขณะของปัจจัยธรรม
เหล่านั้นล่วงเลยขณะเกิดไปถึงขณะตั้งอยู่. สองบทว่า อิมสฺส กายสฺส
คือ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ กล่าวคือมหาภูตรูปและอุปาทายรูป ที่เกิดจาก
สมุฏฐาน 4 และสมุฏฐาน 3. ก็ในข้อนี้ คำว่า กายที่เกิดจากสมุฏฐาน 3
ผู้ศึกษาพึงทราบกายแห่งพรหมปาริสัชชา เป็นต้น เพราะไม่มีอาหารเป็น
สมุฏฐาน. นี้เป็นการอธิบายบาลีในอธิการนี้.
ก็ชื่อว่า ปัจฉาชาตปัจจัย นี้ ว่าโดยสังเขป ได้แก่ อรูปขันธ์ใน 4
ภูมิที่เหลือ เว้นอรูปวิบาก. ปัจฉาชาตปัจจัยนั้น ว่าด้วยอำนาจแห่งชาติ
มี 4 ชาติ โดยแจกเป็นกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา. ผู้ศึกษาพึงทราบ
วินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในปัจฉาชาตปัจจัยนี้ ดังแสดง
มาแล้ว.
ในปัจฉาชาตปัจจัยที่จำแนกได้ ดังข้าพเจ้าได้แสดงมาแล้วนี้ กุศล
ที่เกิดขึ้นในภูมิ 4 และอกุศลในปัญจโวการภพ เป็นปัจฉาชาตปัจจัยแก่